การคำนวนผ้าม่าน

ผ้าม่านตาไก่สีชมพู

      การคำนวนผ้าม่าน คือการหาปริมาณหรือจำนวนผ้าเพื่อนำมาตัดเย็บผ้าม่านของม่านชุดนั้นๆ ศัพท์ช่างเย็บผ้าเรียกว่า“การคิดผ้า” ม่านแต่ละแบบใช้ผ้าไม่เท่ากัน เนื่องจากรูปแบบมีความแตกต่างกัน การคำนวนผ้าม่าน เพื่อหาปริมาณการใช้ผ้า มีตัวแปรทำให้เกิดผลลัพภ์ต่างกัน การคำนวนต้องประกอบไปด้วย

    1. แบบม่าน ม่านจีบ,ม่านตาไก่,ม่านพับ,ม่านหลุยส์ ฯลฯ
    2. หน้ากว้างผ้า หรือความกว้างของหน้าผ้า มีหน้าแคบ หน้ากว้าง 
    3. การวัด วัดเผื่อออกตามมาตรฐาน หรืออาจเผื่อตามต้องการ
    4. การตกแต่งเพิ่มเติม เช่น ใช้ผ้าสองสี ( ทูโทน ) หรือ อื่นๆ

 

การคำนวนผ้าม่าน

มีตัวแปรหลายอย่างที่ต้องรู้เบื้องต้นก่อนการคำนวน เพื่อหาปริมาณใช้ใช้ผ้าแต่ละแบบ

สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนการคำนวนหาปริมาณผ้า

แบบม่าน มีผลต่อปริมาณการใช้ผ้า ม่านแต่ละแบบ ใช้ผ้าต่างกัน 

  • ผ้า ม่านจีบ ม่านตาไก่ ม่านกระเช้า ใช้ผ้าประมาณ 2.3 – 2.5 เท่า
  • ม่านพับ ใช้ผ้าประมาณ 1.2-1.8 เท่า
  • ม่านยก ม่านระย้า ใช้ผ้า 2.5 – 3 เท่า
  • ม่านหลุยส์ ใช้ผ้าม่านประมาณ 3- 4 เท่า

แบบม่านเป็นตัวกำหนดการใช้ผ้า มากกว่าหรือน้อยกว่านี้ ขึ้นอยู่กับลายละเอียดของรูปแบบม่าน

แบบผ้าม่าน

หน้ากว้างผ้า มีผลต่อปริมาณใช้ผ้าของม่านแต่ละแบบ

ผ้าม่าน มีหลายความกว้าง มีตัวเลขบอกที่ม้วน หรือแค๊ตตาล๊อก ว่าผ้าตัวหนี้หน้ากว้างเท่าไร หน่วยของผ้าเป็นหลา 1 หลา = 90 ซม. ผ้าทุกชนิดจะมีความกว้างของหน้าผ้าเป็นนิ้วหรือเป็นเซ็นติเมตรดังนี้

กลุ่มผ้าหน้าแคบ ทำม่านไม่จำกัดความสู

  • หน้า 48 นิ้ว หรือ 120 ซม.
  • หน้า 52 นิ้ว หรือ 130 ซม.
  • หน้า 58 นิ้ว หรือ 145 ซม.
  • หน้า 60 นิ้ว หรือ 150 ซม.

หรืออาจมีมากกว่าหรือน้อยกว่าตัวเลขดังกล่าวบ้างเล็กน้อย ส่วนใหญ่เป็นผ้าที่ผลิตในประเทศไทย 

กลุ่มผ้าหน้ากว้าง จำกัดความสูงไม่เกิน 2.50 เมตร

  • หน้า 110 นิ้ว หรือ 275 ซม. 
  • หน้า 113 นิ้ว หรือ 280 ซม.
  • หน้า 120 นิ้ว หรือ 300 ซม.
  • หน้า 128 นิ้ว หรือ 320 ซม. 

กลุ่มหน้ากว้าง ใช้ความกว้างมาทำเป็นความสูง เป็นเหตุให้ต้องจำกัดความสูง แต่มีข้อดีตรงที่ใช้ผ้าปริมาณน้อยกว่ากลุ่มหน้าแคบ เมื่อรวมแล้วจะใช้ผ้าน้อยกว่า และที่สำคัญคือไม่มีรอยต่อผ้าตลอดความกว้างของม่านชุดนั้น

ตัวอย่างผ้า

การวัดขนาด เผื่อให้ผ้าม่านมีความเหมาะสม สวยงาม

ม่านบางแบบมีการเผื่อแต่ละส่วนไม่เหมือนกัน เพื่อให้เกิดความลงตัว ไม่ว่าจะเป็นความเหมาะสมสวยงาม การใช้งานที่สะดวกไม่ติดขัดหรือเกิดปัญหาตามมา การเผื่อความกว้าง ความสูง ต้องมีที่มาที่ไปด้วย จากขอบบน ขอบข้าง-ซ้ายและขวา และขอบล่างดังนี้ 

ม่านจีบ ม่านตาไก ม่านกระเช้า

  • ด้านบน 15 ซม.
  • ด้านข้างซ้าย-ขวา 10 ซม.
  • ด้ายล่าง 15 ซม.

ทุกส่วนอาจเผื่อมากกว่านี้ แต่ไม่ควรน้อยกว่า ทั้งนี้ให้ดูความเหมาะสมสวยงาม 

ม่านพับ ม่านหลุยส์ ม่านกล่อง

  • ด้านบน 50 ซม.
  • ด้านข้างซ้าย-ขวา 15 ซม.
  • ด้านล่าง 20 ซม. หรือถึงพื้น

บางส่วนอาจเผื่อมากกว่านี้ แต่ไม่ควรน้อยกว่าดู ทั้งนี้ให้ดูความเหมาะสมสวยงาม 

การวัดผ้าม่าน

การตกแต่งเพิ่มเติม

การตกแต่งผ้าม่าน ให้สวยงาม เพิ่มเติมจากแบบมาตรฐาน เป็นส่วนที่ทำให้การใช้ผ้าเพิ่มขึ้น  เช่นการต่อผ้าเป็นสองสี หรือ ทูโทน การตกแต่งอื่นที่ต้องใช้ผ้าเพิ่มก็ต้องมาดูว่าต้องแค่ไหน อย่างไร การตกแต่งเพิ่มอาจไม่มีข้อจำกัด มากน้อย อยู่กับแบบที่เลือก

eyelet curtain-two tone-1
eyelet curtain-two tone-ผ้าม่านตาไก่ ทูโทน โอโรสและน้ำตาล

 

ผ้าม่านตาไก่ ห้องนอน ระบายผ้า สีชมพู
ผ้าม่านตาไก่ ห้องนอน ระบายผ้า สีชมพู สีเดียวกันกับผ้าทึบ ให้ความสวยงาม แนวหวาน

การคำนวนผ้าม่าน

ม่านจีบ ม่านตาไก่ ม่านกระเช้า ทั้ง3แบบ ใช้ผ้าประมาณเท่าตัวหรือ 2.3 เท่า โดยเฉลี่ย 

กลุ่มผ้าหน้าแคบ 48 นิ้ว

48 × 2.5 = 120 ซม. (ต้องแปลงหน่วยจากนิ้วเป็นเซ็นติเมตรก่อน)

การคำนวน ต้องเริ่มจากความกว้างทุกครั้ง (ผ้าม่าน มี 2 ด้าน มีกว้างกับสูง เท่านั้น ถ้าบอกยาว จะมีโอกาสเข้าใจผิดระหว่างคนวัดกับช่าง)

สูตรคำนวน

    1. กว้าง X 2.3 = ผลลัพธ์ ( เป็นจำนวนที่เผื่อการพับริมและการเกยกันของม่านชิ้นซ้ายและขวาแล้ว)
    2. นำผลลัพธ์  ไปหารด้วยหน้าผ้า (เป็นการหาจำนวนแถบ หรือนำนวนชิ้นที่ต้องนำมาต่อกันให้เต็มความกว้าง )
    3. ถ้าผลลัพธ์มีเศษ ต้องปัดขึ้นไม่ให้มีเศษ เช่น 3.333 ให้ปัดเป็น 4 
    4. นำตัวเลขผลลัพธ์ มาคูณด้วยความสูง บวก 30 ซม. (เผื่อ) พับหัวพับชาย
    5. ได้ผลลัพธ์เป็นจำนวนเมตร
    6. นำจำนวนเมตรที่ได้มา หารด้วย .90 จะเท่ากับจำนวนหลา (ผ้าม่านทุกชนิดขายเป็นหลา)

ยกตัวอย่าง ถ้าต้องการผ้าม่าน กว้าง 2.00 สูง 2.50 เมตร (200×250 ซม.)

    • 2.00 × 2.30= 4.60 (คือความกว้างของผ้าที่ต้องใช้)
    • 4.60 ÷ 1.20 = 3.80 (จำนวนชิ้นหรือแถบผ้าที่ต้องใช้ 3.8 ปัดขึ้น เป็น 4.00 )
    • 4.00 × 2.80 =  11.20 (4 คือจำนวนแถบที่ปัดขึ้นแล้วนำมา คูณด้วยความสูง2.50+30 ซม.)
    • 11.20 ÷ 0.90 = 12.44 (คือจำนหลาที่ต้องใช้สำหรับม่านชุดนี้)

ปริมาณการใช้ผ้า คือ  12.44 หลา 

การคำนวนผ้าม่าน กลุ่มหน้าหว้าง

ม่านจีบ ม่านตาไก่ ม่านกระเช้า ทั้ง3แบบโดยส่วนใหญ่ใช้ผ้าเท่าตัว 

กลุ่มผ้าหน้ากว้าง 110 นิ้ว ขึ้นไป (275 ซม.)

      การคำนวนผ้า ต้องเริ่มจากความกว้างก่อน (ผ้าม่าน มี กว้างกับสูงเท่านั้น ถ้าบอกยาว จะมีโอกาสเข้าใจกันผิดระหว่างคนวัดกับช่างเย็บ) ผ้าหน้ากว้าง จะคำนวนง่ายกว่าผ้าหน้าแคบ คือไม่ต้องหาจำนวนชิ้นหรือแถบผ้า

สูตรคำนวน

    1. กว้าง X 2.3 = ผลลัพธ์ (เผื่อการพับริมและการเกยกันของม่านชิ้นซ้ายและขวาแล้ว)
    2. นำผลลัพธ์มา หารด้วย .90 จะเท่ากับจำนวนหลา (ผ้าม่านทุกชนิดขายเป็นหลา)

ยกตัวอย่าง ถ้าต้องการผ้าม่าน กว้าง 2.00 สูง 2.50 เมตร (200×250 ซม.)

    • 2.00 × 2.30= 4.60 คือจำนวนผ้ามี่ใช้ (หน่วยเป็นเมตร)
    • 4.60 ÷ 0.90 = 5.11 (แปลงเป็นหลา)

ปริมาณการใช้ผ้า คือ  5.11 หลา

      จะเห็นได้ว่า การใช้ผ้าหน้ากว้างทำม่าน จำนวนผ้าที่ใช้จะน้อยกว่าผ้าหน้าแคบ ซึ่งมีผลทำให้ราคาถูกกว่า และผ้าทั้งชุด ไม่มีรอยต่อ  

ทั้งนี้ ถ้าผ้าไม่เหลือเศษจากผ้าม่านชุดอื่น อาจต้องสั่งผ้าเพิ่มสำหรับสายรวบม่านด้วย 

ราคาผ้าม่าน

ถ้าต้องการทราบราคาผ้าม่าน ต้องมีอีก 3 อย่าง ที่แยกจากค่าผ้า

    1. ค่ารางม่าน (รางมีหลายแบบหลายราคา )
    2. ค่าแรงเย็บ 250บาท/เมตรราง (เป็นราคาที่รวมค่าอุปกรณ์ในการเย็บเช่น ตะขอ เทปเคมี โซ่ถ่วงแล้ว )
    3. ค่าอุปกรณ์เสริมที่ลูกค้าต้องการเพิ่ม เช่น สายรวบม่านแบบตุ่ม แบบเกลียวเชือก หรืออุปกรณ์ตกแต่งเพิ่มเดิม
stainless rail

 

รางม่าน

มีหลายแบบ หลายราคา

วิธีการตัดเย็บผ้าม่าน การเย็บริมผ้าม่าน

 

ค่าแรงตัดเย็บ

ขึ้นอยู่กับแบบม่าน

Fold Snap Tape-2811319

 

อุปกรณ์ตัดเย็บ

เทป ตาไก่ ตะขอ เทปเคมี โซ่ถ่วง

อ่านต่อ ราคาผ้าม่าน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *