การคำนวนผ้าม่าน

ผ้าม่านตาไก่สีชมพู

      การคำนวนผ้าม่าน คือการหาปริมาณหรือจำนวนผ้าเพื่อนำมาตัดเย็บผ้าม่านของม่านชุดนั้นๆ ศัพท์ช่างเย็บผ้าเรียกว่า“การคิดผ้า” ม่านแต่ละแบบใช้ผ้าไม่เท่ากัน เนื่องจากรูปแบบมีความแตกต่างกัน การคำนวนผ้าม่าน เพื่อหาปริมาณการใช้ผ้า มีตัวแปรทำให้เกิดผลลัพภ์ต่างกัน การคำนวนต้องประกอบไปด้วย

    1. แบบม่าน ม่านจีบ,ม่านตาไก่,ม่านพับ,ม่านหลุยส์ ฯลฯ
    2. หน้ากว้างผ้า หรือความกว้างของหน้าผ้า มีหน้าแคบ หน้ากว้าง 
    3. การวัด วัดเผื่อออกตามมาตรฐาน หรืออาจเผื่อตามต้องการ
    4. การตกแต่งเพิ่มเติม เช่น ใช้ผ้าสองสี ( ทูโทน ) หรือ อื่นๆ

 

การคำนวนผ้าม่าน

มีตัวแปรหลายอย่างที่ต้องรู้เบื้องต้นก่อนการคำนวน เพื่อหาปริมาณใช้ใช้ผ้าแต่ละแบบ

สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนการคำนวนหาปริมาณผ้า

แบบม่าน

แบบม่าน มีผลต่อปริมาณการใช้ผ้า ม่านแต่ละแบบ ใช้ผ้าต่างกัน 

  • ผ้า ม่านจีบ ม่านตาไก่ ม่านกระเช้า ใช้ผ้าประมาณ 2.3 – 2.5 เท่า
  • ม่านพับ ใช้ผ้าประมาณ 1.2-1.8 เท่า
  • ม่านยก ม่านระย้า ใช้ผ้า 2.5 – 3 เท่า
  • ม่านหลุยส์ ใช้ผ้าม่านประมาณ 3- 4 เท่า

แบบม่านเป็นตัวกำหนดการใช้ผ้า มากกว่าหรือน้อยกว่านี้ ขึ้นอยู่กับลายละเอียดของรูปแบบม่าน

แบบผ้าม่าน
หน้ากว้างของผ้า

หน้ากว้างผ้า มีผลต่อปริมาณใช้ผ้าของม่านแต่ละแบบ

ผ้าม่าน มีหลายความกว้าง มีตัวเลขบอกที่ม้วน หรือแค๊ตตาล๊อก ว่าผ้าตัวหนี้หน้ากว้างเท่าไร หน่วยของผ้าเป็นหลา 1 หลา = 90 ซม. ผ้าทุกชนิดจะมีความกว้างของหน้าผ้าเป็นนิ้วหรือเป็นเซ็นติเมตรดังนี้

กลุ่มผ้าหน้าแคบ ทำม่านไม่จำกัดความสู

  • หน้า 48 นิ้ว หรือ 120 ซม.
  • หน้า 52 นิ้ว หรือ 130 ซม.
  • หน้า 58 นิ้ว หรือ 145 ซม.
  • หน้า 60 นิ้ว หรือ 150 ซม.

หรืออาจมีมากกว่าหรือน้อยกว่าตัวเลขดังกล่าวบ้างเล็กน้อย ส่วนใหญ่เป็นผ้าที่ผลิตในประเทศไทย 

กลุ่มผ้าหน้ากว้าง จำกัดความสูงไม่เกิน 2.50 เมตร

  • หน้า 110 นิ้ว หรือ 275 ซม. 
  • หน้า 113 นิ้ว หรือ 280 ซม.
  • หน้า 120 นิ้ว หรือ 300 ซม.
  • หน้า 128 นิ้ว หรือ 320 ซม. 

กลุ่มหน้ากว้าง ใช้ความกว้างมาทำเป็นความสูง เป็นเหตุให้ต้องจำกัดความสูง แต่มีข้อดีตรงที่ใช้ผ้าปริมาณน้อยกว่ากลุ่มหน้าแคบ เมื่อรวมแล้วจะใช้ผ้าน้อยกว่า และที่สำคัญคือไม่มีรอยต่อผ้าตลอดความกว้างของม่านชุดนั้น

ตัวอย่างผ้า
การวัด

การวัดขนาด เผื่อให้ผ้าม่านมีความเหมาะสม สวยงาม

ม่านบางแบบมีการเผื่อแต่ละส่วนไม่เหมือนกัน เพื่อให้เกิดความลงตัว ไม่ว่าจะเป็นความเหมาะสมสวยงาม การใช้งานที่สะดวกไม่ติดขัดหรือเกิดปัญหาตามมา การเผื่อความกว้าง ความสูง ต้องมีที่มาที่ไปด้วย จากขอบบน ขอบข้าง-ซ้ายและขวา และขอบล่างดังนี้ 

ม่านจีบ ม่านตาไก ม่านกระเช้า

  • ด้านบน 15 ซม.
  • ด้านข้างซ้าย-ขวา 10 ซม.
  • ด้ายล่าง 15 ซม.

ทุกส่วนอาจเผื่อมากกว่านี้ แต่ไม่ควรน้อยกว่า ทั้งนี้ให้ดูความเหมาะสมสวยงาม 

ม่านพับ ม่านหลุยส์ ม่านกล่อง

  • ด้านบน 50 ซม.
  • ด้านข้างซ้าย-ขวา 15 ซม.
  • ด้านล่าง 20 ซม. หรือถึงพื้น

บางส่วนอาจเผื่อมากกว่านี้ แต่ไม่ควรน้อยกว่าดู ทั้งนี้ให้ดูความเหมาะสมสวยงาม 

การวัดผ้าม่าน
การแต่งเพิ่มเติม

การตกแต่งเพิ่มเติม

การตกแต่งผ้าม่าน ให้สวยงาม เพิ่มเติมจากแบบมาตรฐาน เป็นส่วนที่ทำให้การใช้ผ้าเพิ่มขึ้น  เช่นการต่อผ้าเป็นสองสี หรือ ทูโทน การตกแต่งอื่นที่ต้องใช้ผ้าเพิ่มก็ต้องมาดูว่าต้องแค่ไหน อย่างไร การตกแต่งเพิ่มอาจไม่มีข้อจำกัด มากน้อย อยู่กับแบบที่เลือก

eyelet curtain-two tone-1
eyelet curtain-two tone-ผ้าม่านตาไก่ ทูโทน โอโรสและน้ำตาล

 

ผ้าม่านตาไก่ ห้องนอน ระบายผ้า สีชมพู
ผ้าม่านตาไก่ ห้องนอน ระบายผ้า สีชมพู สีเดียวกันกับผ้าทึบ ให้ความสวยงาม แนวหวาน
วิธีคำนวนผ้า กลุ่มหน้าแคบ

การคำนวนผ้าม่าน

ม่านจีบ ม่านตาไก่ ม่านกระเช้า ทั้ง3แบบ ใช้ผ้าประมาณเท่าตัวหรือ 2.3 เท่า โดยเฉลี่ย 

กลุ่มผ้าหน้าแคบ 48 นิ้ว

48 × 2.5 = 120 ซม. (ต้องแปลงหน่วยจากนิ้วเป็นเซ็นติเมตรก่อน)

การคำนวน ต้องเริ่มจากความกว้างทุกครั้ง (ผ้าม่าน มี 2 ด้าน มีกว้างกับสูง เท่านั้น ถ้าบอกยาว จะมีโอกาสเข้าใจผิดระหว่างคนวัดกับช่าง)

สูตรคำนวน

    1. กว้าง X 2.3 = ผลลัพธ์ ( เป็นจำนวนที่เผื่อการพับริมและการเกยกันของม่านชิ้นซ้ายและขวาแล้ว)
    2. นำผลลัพธ์  ไปหารด้วยหน้าผ้า (เป็นการหาจำนวนแถบ หรือนำนวนชิ้นที่ต้องนำมาต่อกันให้เต็มความกว้าง )
    3. ถ้าผลลัพธ์มีเศษ ต้องปัดขึ้นไม่ให้มีเศษ เช่น 3.333 ให้ปัดเป็น 4 
    4. นำตัวเลขผลลัพธ์ มาคูณด้วยความสูง บวก 30 ซม. (เผื่อ) พับหัวพับชาย
    5. ได้ผลลัพธ์เป็นจำนวนเมตร
    6. นำจำนวนเมตรที่ได้มา หารด้วย .90 จะเท่ากับจำนวนหลา (ผ้าม่านทุกชนิดขายเป็นหลา)

ยกตัวอย่าง ถ้าต้องการผ้าม่าน กว้าง 2.00 สูง 2.50 เมตร (200×250 ซม.)

    • 2.00 × 2.30= 4.60 (คือความกว้างของผ้าที่ต้องใช้)
    • 4.60 ÷ 1.20 = 3.80 (จำนวนชิ้นหรือแถบผ้าที่ต้องใช้ 3.8 ปัดขึ้น เป็น 4.00 )
    • 4.00 × 2.80 =  11.20 (4 คือจำนวนแถบที่ปัดขึ้นแล้วนำมา คูณด้วยความสูง2.50+30 ซม.)
    • 11.20 ÷ 0.90 = 12.44 (คือจำนหลาที่ต้องใช้สำหรับม่านชุดนี้)

ปริมาณการใช้ผ้า คือ  12.44 หลา 

วิธีคำนวนผ้า กลุ่มหน้ากว้าง

การคำนวนผ้าม่าน กลุ่มหน้าหว้าง

ม่านจีบ ม่านตาไก่ ม่านกระเช้า ทั้ง3แบบโดยส่วนใหญ่ใช้ผ้าเท่าตัว 

กลุ่มผ้าหน้ากว้าง 110 นิ้ว ขึ้นไป (275 ซม.)

      การคำนวนผ้า ต้องเริ่มจากความกว้างก่อน (ผ้าม่าน มี กว้างกับสูงเท่านั้น ถ้าบอกยาว จะมีโอกาสเข้าใจกันผิดระหว่างคนวัดกับช่างเย็บ) ผ้าหน้ากว้าง จะคำนวนง่ายกว่าผ้าหน้าแคบ คือไม่ต้องหาจำนวนชิ้นหรือแถบผ้า

สูตรคำนวน

    1. กว้าง X 2.3 = ผลลัพธ์ (เผื่อการพับริมและการเกยกันของม่านชิ้นซ้ายและขวาแล้ว)
    2. นำผลลัพธ์มา หารด้วย .90 จะเท่ากับจำนวนหลา (ผ้าม่านทุกชนิดขายเป็นหลา)

ยกตัวอย่าง ถ้าต้องการผ้าม่าน กว้าง 2.00 สูง 2.50 เมตร (200×250 ซม.)

    • 2.00 × 2.30= 4.60 คือจำนวนผ้ามี่ใช้ (หน่วยเป็นเมตร)
    • 4.60 ÷ 0.90 = 5.11 (แปลงเป็นหลา)

ปริมาณการใช้ผ้า คือ  5.11 หลา

      จะเห็นได้ว่า การใช้ผ้าหน้ากว้างทำม่าน จำนวนผ้าที่ใช้จะน้อยกว่าผ้าหน้าแคบ ซึ่งมีผลทำให้ราคาถูกกว่า และผ้าทั้งชุด ไม่มีรอยต่อ  

ทั้งนี้ ถ้าผ้าไม่เหลือเศษจากผ้าม่านชุดอื่น อาจต้องสั่งผ้าเพิ่มสำหรับสายรวบม่านด้วย 

ราคาผ้าม่านชุดนี้เท่าไร

ราคาผ้าม่าน

ถ้าต้องการทราบราคาผ้าม่าน ต้องมีอีก 3 อย่าง ที่แยกจากค่าผ้า

    1. ค่ารางม่าน (รางมีหลายแบบหลายราคา )
    2. ค่าแรงเย็บ 250บาท/เมตรราง (เป็นราคาที่รวมค่าอุปกรณ์ในการเย็บเช่น ตะขอ เทปเคมี โซ่ถ่วงแล้ว )
    3. ค่าอุปกรณ์เสริมที่ลูกค้าต้องการเพิ่ม เช่น สายรวบม่านแบบตุ่ม แบบเกลียวเชือก หรืออุปกรณ์ตกแต่งเพิ่มเดิม
stainless rail

 

รางม่าน

มีหลายแบบ หลายราคา

วิธีการตัดเย็บผ้าม่าน การเย็บริมผ้าม่าน

 

ค่าแรงตัดเย็บ

ขึ้นอยู่กับแบบม่าน

Fold Snap Tape-2811319

 

อุปกรณ์ตัดเย็บ

เทป ตาไก่ ตะขอ เทปเคมี โซ่ถ่วง

อ่านต่อ ราคาผ้าม่าน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *